ประเพณีลอยกระทงถือได้ว่าเป็นประเพณีที่มีมา นมนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย ( บางที่ก็ว่าก่อนสมัยสุโขทัย ) หรือเอาง่ายๆก็ มีกันมาตั้งแต่ต้นประวัติศาสตร์ชาติไทยกันเลยถือเดียว ซึ่งในเบื้องต้นนั้น ประเพณีลอยกระทงจะจัดกันในราวๆ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตาม ซึ่งก็ตรงกับเดือน พฤศจิกายน ในปฏิทินสุริยคติ
สำหรับประเพรลอยกระทงนั้นได้จัดขึ้นภายใต้ความเชื่อที่ว่า ในแม่น้ำที่เราๆใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีเทพธิดาองค์หนึ่งสถิตอยู่ทั่วแคว้นแดนแหลมทอง ซึ่งเทพธิดาองค์นี้ก็คือ พระแม่คงคา นั้นเอง
( ภาพโดย คุณ ไตรรงค์ ปิมปา จาก http://202.129.59.73 )
สำหรับประเพณีลอยกระทงในประเทศไทยนั้นยังไม่มีจุดเริ่มต้นที่แน่ชัดนัก แต่ที่เด่นๆและถูกพูดถึงมากที่สุดก็เห็นจะเป็นช่วงสมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" ขอรับ แถมตามหลักฐานจากหลักศิลาจารึกที่ 1 กล่าวถึงงานงานนึง ว่าด้วยการเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ซึ่งก็ตรงๆกับที่เราๆเล่นๆกันอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงแน่นอน คอนเฟิร์ม!!! 555 =w=b
แต่เดิมนั้นในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม ( ไม่ได้ลอยกระทงใบตองเหมือนในปัจจุบันครับ ) โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของศาสนาพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์แห่งศาสนาพราหมณ์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาโยงเข้ากับศาสนาพุทธ จึงให้มีการโยงโคม เอ๊ย! ชักโคม -w-" เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้าขอรับ ซึ่งการลอยโคมที่ว่านี้ก็ได้ทำมาก่อนนานแล้วก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะได้ค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ( คนไทย สุโค่ย~~ อ่ะ ไม่สิ สุดยอด! =^=b )
ซึ่งในหนังสือนางนพมาศก็ได้มีส่วนที่เล่าถึงการทำกระทงด้วยว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย..."
เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" ตั้งแต่นั้นมาพิธีลอยกระทงเลยได้เปลี่ยนแปลงจากลอยโคมเป็นลอยกระทงนั้นเองครับ คิๆๆ
ประเพณีลอยกระทงนั้นได้สืบต่อกันเรื่อยมา เมื่อย่างถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 ได้เกิดเบอร์ห้า!!! ก็บ้าเหออ่ะนะครับ -v-" ในการทำกระทงใหญ่กัน พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน แล้วโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ( เรือที่นางนพมาศจะได้นั่งในช่วงลอยกระทงนั้นเองครับ ) ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันนั้นสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจัดพิธีลอยประทีปเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัยครับ
1.)เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด
2.)เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท ( ซึ่งก็ไหลต่อมาเรื่อยๆจนถึงแดนไทยขอรับ )
3.)เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
4.)เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้
5.)เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
6.)เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน
7.)เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญญาพื้นบ้านไว้อีกด้วย
และแน่นอนครับ สิ่งที่ขาดไม่ได้และถือเป็นสัญญาลักษณ์ของประเพณีลอยกระทงคือเพลง "รำวงลอยกระทง" นั้นเองครับ
( ภาพโดย คุณ Prae จาก Learn Thai Language )
สำหรับเนื้อเพลงรำวงวันลอยกระทงนั้นแต่งโดยครูแก้ว อัจฉริยกุล ผู้ให้ทำนองคือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งสุนทราภรณ์
ภาพซ้าย ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งสุนทราภรณ์ และภาพขวา ครูแก้ว อัจฉริยกุล
ซึ่งครูเอื้อได้แต่งเพลงนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2498 ขณะที่ได้ไปบรรเลงเพลงที่บริเวณคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผู้ขอเพลงจากครูเอื้อ ครูเอื้อจึงนั่งแต่งเพลงนี้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงจึงเกิดเป็นเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ติดหูกันมาทุกวันนี้ มีเนื้อร้องว่า
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่งเราทั้งหลายชายหญิงสนุกกันจริง วันลอยกระทงลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทงลอยกระทงกันแล้วขอเชิญน้องแก้วออกมารำวงรำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทงบุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ
[ ดูน่ากินมากกว่าน่าลอยเนอะ @u@ ]
( ภาพโดย คุณ หนูชอุ่ม จาก GMBlog )
เมื่อไปถึงสถานที่ลอยกระทง ก่อนทำการลอยก็จะอธิษฐานในสิ่งที่ปรารถนาขอให้ประสบความสำเร็จ หรือเสี่ยงทายในสิ่งต่าง ๆ จากนั้นจึงปล่อยกระทงให้ลอยไปตามสายน้ำ และในกระทงมักนิยมใส่เงินลงไปด้วย เพราะเชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคา นอกจากการลอยกระทงแล้ว มักมีกิจกรรมประกวดนางนพมาศอันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเพณีลอยกระทง และตามสถานที่จัดงานจะมีการประกวดกระทง ขบวนแห่ มหรสพสมโภชต่าง ๆ บางแห่งอาจมีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองด้วย
Credit:
data by
-ประวัติวันลอยกระทง ประเพณีลอยกระทง by Kapool at Kapook.com
-วันลอยกระทง ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง 2555 by DMC at DMC.tv
picture by
-พระแม่คงคา เทพผู้รักษาสายน้ำ by ไตรรงค์ ปิมปา at 202.129.59.73
-ตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ by sanesapthong at wordpress.com
-Learn Thai Song: Loy Krathong Song(เพลงรำวงลอยกระทง) by Prae at learnthailanguage.org
-"ร้อยรอยรัก" ... 100 ปี ครูเอื้อ สุนทรสนาน กับทัวร์คอนเสิร์ตสุนทราภรณ์...ในอเมริกา by ไทยรัฐ at thairath.co.th
-แก้ว อัจฉริยะกุล by wikipedia at th.wikipedia.org
-บทเพลงแห่งกาลเวลา by บ้านเดิม ดอนหวาย at khonthaimagazine.com
-ลอยกระทงขนมปังกันค่า.. by หนูชอุ่ม at manager.co.th
More information:
-ประวัติครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งสุนทราภรณ์ by วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี at th.wikipedia.org
-ประวัติครูแก้ว อัจฉริยกุล by วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี at th.wikipedia.org