Saturday, June 1, 2013

Julius Richard Petri's 161st birthday


( วิดีโอ โดย google จาก google doodle )


( ภาพโดย milliyet จาก www.milliyet.com.tr )

" เฮ้ย! นี้มัน UFO นิ "
" บ้าเปล่า?! นี้มันถาดพิชซ่าต่างหาก "
" ไม่ๆ มันต้องเป็นอุปกรณ์อะไรสักอย่างที่ใช้ในการทดลองวิทยาศาสตร์แน่ๆ "

หลายๆคนที่เห็นเจ้าจานทรงแบน ขอบยืดขึ้น มีฝาครอบ ถ้าไม่มีใครบอกว่ามันคือจานเพาะเชื้อแล้ว ก็คงจะเห็นกันไปต่างๆนานา ( กระผมยังคิดเลยว่ามันคือฐานรองแก้วชาแบบญี่ปุ่น =w=" )

( ภาพโดย คุณ admin จาก glasswarechemical.com )

อย่างที่เกริ่กไปขอรับ เจ้านี้คือ จานเพาะเชื้อ ทำหน้าที่คือ ใช้ในการ โคลนนิ่ง แบคทีเรียในงานวิทยาศาสตร์ โดยการใช้อาหารเลี้ยงเชื้อแบบแข็ง (Agar) แล้วเลี้ยงเชื้อไว้บนนั้น แต่แล้วใครคิดเจ้าจานทรงแบนนี้ขึ้นมา?
ผู้ที่คิดค้นเจ้าจานเพาะเชืื้อนี้ก็คือลุงจูเลียส ริชาร์ด เพตรินั้นเอง 

ลุงจูเลียสเกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ.1852 ที่เมือง Bremen ประเทศเยอรมัน 

( ภาพโดย destination-deutschland จาก www.destination-deutschland.info )

ได้เข้าศึกษาที่ Kaiser Wilhelm-Akademie ซึ่งเป็นสถาบันสำหรับแพทย์ทหาร ตั้งแต่ปี 1871 ถึง 1875 

( ภาพโดย flickr จาก www.flickr.com )

จากนั้นจึงได้รับปริญญาเอกในปี 1876 และได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ที่ Charité ในกรุงเบอร์ลิน จนกระทั่งในปี 1882 ลุงจูเลียสก็ได้เข้าไปเป็นแพทย์ทหาร และต่อมาได้เป็นทหารกองหนุน และในที่สุดลุงจูเลียสก็ได้เป็น Oberstabsarzt

ในปี 1877 ถึง 1879 ลุงจูเลียสได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยของ Robert Koch จากนั้นในปี 1882 ถึง 1885 หัวหน้าของโรงพยาบาล Göbersdorf ซึ่งบริหารงานโดย Imperial Board of Health ซึ่งเป็นกลุ่มที่แคร่งวินัยของแคว้น Prussian กลุ่มนี้ให้ความสำคัญอนามัยเกี่ยวกับวัณโรค บนเส้นทางที่เคร่งครัดเกี่ยวกับวัณโรคทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย ทำให้ Julius Richard Petri ริชาร์ด จูเลียส เพตริ พัฒนาเทคนิคการโคลนนิ่งแบคทีเรียโดยใช้วุ้น โดยเพาะเลี้ยงบนจานของเขา

ลุงจูเลียสได้เสียชีวิตลงในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1921 เมือง Zeitz ประเทศเยอร์มัน อายุรวม 69 ปี

เกร็ดความรู้เล็กน้อยเกี่ยวกับ Petri Dish
- Petri Dish ทำมาจากวัสดุที่เป็นแก้วหรือพลาสติก รูปทรงกระบอกทรงเตี้ย มีฝาปิดผนึก
- Petri Dish นี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยนำมาฆ่าเชื้อด้วย สเตอริไรส์ ในหม้อนึ่งความดัน หรือเข้าตู้อบความร้อนที่อุณหภูมิ 160 เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก็จะสามารถนำมาใช้ใหม่ได้นั่นเอง

Credit:
data by

picture by

video by

No comments:

Post a Comment

เรื่องนี้เป็นยังไงบ้าง คิดยังไง คอมเม้นต์ได้เลย เป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วย ^w^