Wednesday, December 12, 2012

เอดา เลิฟเลซ ( Ada Lovelace ) - โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก


Google Doodle เปลี่ยนแล้ว~~~~~~ เย้~~ นึกว่าจะไม่เปลี่ยนซะแล้ว ( T^T  ดีใจ ) เอาล่ะเราก็มาดูกันดีกว่าครับว่าวันนี้ บุคคลใน Google Doodle เป็นใคร

( ภาพจาก Google )

สำหรับบุคคลสำคัญในวันนี้ หลายๆคนคงจะไม่รู้จักกันเสียทีเดียว แต่ถ้าเป็นโปรแกรมเมอร์แล้วล่ะก็ต้องรู้จักเธอเป็นอย่างดีแน่นอน เธอเป็นหญิงที่ได้ชื่อว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เธอคือ เอดา เลิฟเลซ ( Ada Lovelace )

( ภาพโดย wikipedia จาก wikipedia English )

เอดา เลิฟเลซ ( Ada Lovelace ) หรือชื่อเต็มๆว่า เอดา ไบรอน เลิฟเลซ ( Ada Byron Lovelace, Lady Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace )  เป็นบุตรสาวของ ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 ( ค.ศ. 1815 ) แต่หลังจากเธอเกิดไม่นาน พ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน ( อืม เรื่องแบบนี้มีกันมานานแล้วแหะ =o=! ) แม่ของเธอเลยจัดการเลี้ยงเธอในแบบที่ต่างแตกจากกุลสตรีในตระกูลใหญ่ๆ ของอังกฤษทั่วไป แม่ของเอดาพยายามที่จะให้เอดาเป็นสาวยุคใหม่ ( ประมาณว่าหัวคิดก้าวไกลกว่าคนอื่น ) และให้ศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานแรกเริ่มก่อนที่เธอจะ ( เผอิญ -v-" ) เป็นโปรแกรมเมอร์ ( นี้ล่ะมั่ง สาเหตุที่ ถ้าอยากจะเรียนคณะคอมฯในมหาลัยฯ ต้องเรียนสายวิทย์ฯ-คณิตฯมาก่อน = =" )

( ภา่พโดย John Murray Publishers London จาก Blog Smithsonianmag )

จุดเริ่มต้นของการเป็นโปรแกรมเมอร์ของเธอเริ่มต้นจากในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง เธอได้พบกับ ชาลส์ แบบบิจ ( บางทีก็เรียก ชาลส์ แบบเบจ )

( ภาพจาก yupparaj )

และชาลส์ แบบเบจก็ได้พูดถึงแนวคิดสิ่งประดิษฐ์ของเค้าในงานสังสรรค์กับเอดาว่า "what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight" ( จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้ หากแต่สามารถตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย ) หลายๆคนคิดว่า แบบเบจต้องฟั่นเฟื่องไปแล้วแน่ๆ เพราะเทคโนโลยีในสมัยนั้นยังไม่สามารถที่จะสร้างเครื่องแบบนี้ได้ แต่เอดาไม่ได้คิดเช่นนั้น เธอรู้สึกสนใจในแนวคิดนี้ของแบบเบจมาก และได้อาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอช่วยคือ การสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของแบบเบจ

เครื่องจักรนี้สามารถรับโปรแกรมและทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมได้ โดยเธอได้เสนอเทคนิคการเขียนโปรแกรมแบบวนรอบซ้ำ ๆ ที่เรียกว่า loop ซึ่งต่อมาก็เป็นพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เธอเชื่อว่าเครื่องจักรของแบบเบจนี้จะสามารถแต่งเพลงที่ซับซ้อน สร้างภาพกราฟิก นำมาใช้เพื่อการคำนวณขั้นสูง และพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ได้ ฯลฯ

เอดาได้แนะนำแบบเบจให้ลองเขียนแผนผังการทำงาน ของเครื่องมืออันนี้ให้สามารถคำนวณ Bernoulli numbers ขึ้นมา

และแล้วมันก็ทำงานได้จริงๆซะด้วย

( ภาพโดย สสวท จาก Neung Kaengkhoi )

แต่กว่าเจ้าเครื่องนี้จะเสร็จ ชาลส์ แบบเบจและเอดาก็ไม่ได้อยู่บนโลกนี้เสียแล้ว
แต่ถึงกระนั้นแผนการทำงานที่แบบเบจเขียนนั้นได้ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์แรกของโลก และเธอก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลกเช่นกัน

แต่แล้ววันนึงสุขภาพของเธอค่อยๆแย่ลงจนในที่สุดเะอก็เสียชีวิตลงด้วยวัยเพียง 37 ปีเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ( ค.ศ. 1979 ) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯก็ได้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Ada Lovelace ว่า ภาษา “ADA” เพื่อเป็นเกียรติแก่่เธอในฐานะโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก ( และในปัจจุบันก็ยังคงมีการใช้ภาษานี้ในการพัฒนาซอฟร์แวร์ของคอมพิวเตอร์อยู่ )

( ภาพจาก The Ada Programing Language )

และในวาระที่ครบรอบ 146 ปีของ Ada Lovelace ทาง Google จึงได้เปลี่ยนโลโก้เพื่อร่วมรำลึกถึงคุณงามความดีของ Ada Lovelace อีกด้วย


Credit:
data by

picture by