( ภาพโดย Google Doodle )
เป็นเวลาเนินนานมาแล้วที่สตรีถูกกดขี่ข่มเหง กระทำการทารุณต่างๆ ไร้ซึ่งสิทธิทางกฏหมายและสังคม
ดังนั้น วันนี้จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเหล่า "ผู้ชาย" ( ต้องขอเน้นหน่อย คิๆ ^v^ ) และผู้หญิงด้วยกันได้ตระหนักถึงความสำคัญและสิทธิของผู้หญิง
สวัสดีครับ ฮ่าๆ เกริ่กยาวเลย ครับ ในที่สุดวันที่สำคัญอีกวันนึงที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือ วันสตรีสากลนั้นเอง ก่อนอื่นเพื่อให้สามารถเข้าสู่วันนี้ได้ เรามาเจาะลึกเกี่ยวกับวันนี้กันดีกว่าครับ
วันสตรีสากล
( ภาพโดย คุณ หมูหวาลย์ แห่งประเทศไทย จาก Eduzones )
อย่างที่รู้ๆกันครับว่าวันสตรีสากลคือวันเพื่อสตรีทุกคน แต่ใครรู้บ้างเอ่ย~ ว่าจุดเริ่มต้นของวันนี้มาจากไหน?
จุดเริ่มต้นของวันสตรีสากลนั้นมาจากการลุกขึ้นกอปกู้อยุธยาจากพม่าของพระเจ้าตากสินฯ........ มันใช่ซะที่ไหนกันเล่า - -" ฮ่าๆ ล้อเล่นครับ ล้อเล่น จุดเริ่มต้นนั้นมาจากการลุกฮือของสตรีในโรงงานทอผ้าแห่งหนึ่ง ณ นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้เดินขบวนและชุมนุม ณ โรงงานที่พวกเธอทำงานอยู่ เพื่อเรียกร้องให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้างและสิทธิในด้านต่างๆ แต่แล้วก็ไม่วายมีคนมาลอบวางเพลิงโรงงานที่พวกเธอชุมนุมอยู่ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 119 คน โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ. 2400)
ต่อมาในปี ค.ศ.1907 สาวโรงงาน ณ เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มิอาจจะทนต่อการกระทำของนายจ้างได้ ที่ใช้งานพวกเธอไม่ต่างจากทาส โดยให้ทำงานวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด และไม่มีสวัสดิการใดๆให้ จนทำให้สาวโรงงานเหล่านี้ต้องเจ็บป่วยล้มตายกันในเวลาต่อมา และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก
ด้วยการกระทำอันไม่ยุติธรรมเหล่านี้เอง วีรสตรีของผู้หญิงทั่วโลกก็ได้ตื่นขึ้น นามของเธอคือ "คลาร่า เซทคิน" นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมันตัดสินใจปลุกระดมสาวๆกรรมกรทั้งหลายด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 และเรียกร้องให้ลดเวลาทำงานเหลือ 8 ชั่วโมง ให้สวัสดิการและสิทธิต่างๆ แต่ก็ล้มเหลว เนื่องจากแรงงานหญิงได้ถูกจับกุมไปหลายร้อยคน แต่ถึงกระนั้นก็ทำให้กระแสเรื่องการเรียกร้องสิทธิสตรีได้ถูกจุดประกายขึ้นทั่วโลก
จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย
ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ "คลาร่า เซทคิน" ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันสตรีสากล
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับประวัติวันสตรีสากล แต่ชื่อมันบอกสากล งั้นในไทยก็ต้องมีด้วยสิ! งั้นเรามาดูวันสตรีสากลในไทยกันต่อเลยครับ
วันสตรีสากลในไทย
( ภาพโดย คุณ หมูหวาลย์ แห่งประเทศไทย จาก Eduzones )
สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ดังนั้นวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล และระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา
และจัดตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันมหามงคล 12 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระองค์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ตรากตรำบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อให้คนไทยได้มีอาชีพ และได้พระราชทานให้วันที่ 1 สิงหาคมเป็น "วันสตรีไทย" ของทุกปี เพื่อให้ผู้หญิงไทยมีโอกาสแสดงถึงความรู้ ความสามารถในการพัฒนาประเทศ ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันสังคม และให้สามารถเทียบเท่าสตรีสากลของหลายประเทศที่เจริญแล้ว
ซึ่งทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการประกาศถึงเกียรติประวัติของสตรีชั้นแนวหน้าของโลกทั้งที่มีชีวิต และที่เสียชีวิตไปแล้ว เช่น เจ้าหญิงไดอาน่า แห่งอังกฤษ, แม่ชีเทเรซา แห่งประเทศอินเดีย, ประธานาธิบดี เมกาวลี แห่งอินโดนีเซีย และนางอองซานซูจี ของพม่าที่เรียกร้องประชาธิปไตยกับประเทศ ส่วนในประเทศไทยมีอยู่หลายท่าน เช่น คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนาสุนันท์, คุณสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ และคุณปวีณา หงสกุล ฯลฯ
วันสตรีไทยถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เพราะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันสตรีมีบทบาทมากขึ้น มีความสามารถทัดเทียมผู้ชาย เป็นที่ยอมรับจากสังคม จะเห็นได้จากหน่วยงานราชการและภาคเอกชนเริ่มมีสตรีเข้าไปเป็นหัวหน้างานมากขึ้น รวมถึงการเข้าไปมีบทบาทในการบริหารประเทศชาติ สตรีไทยในยุคปัจจุบัน จึงต้องเป็นสตรีที่มีความรู้ความสามารถครบถ้วนทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการบริหาร การจัดการ การเป็นแม่ที่ดีของลูก เป็นภรรยาที่ดีของสามี และเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี พร้อมทั้งต้องก้าวทันกับยุคสมัย เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
Credit
data by
picture by
No comments:
Post a Comment
เรื่องนี้เป็นยังไงบ้าง คิดยังไง คอมเม้นต์ได้เลย เป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วย ^w^